RSS

วิธีการดูยางรถยนต์

เห็นว่ามีประโยชน์ครับ ผมรวบรวมมาจากหลายๆเว็ป

เกร็ดความรู้: ทราบได้อย่างไรว่ายางรถยนต์ใหม่หรือเก่า

ยางรถใหม่เก็บไว้นาน ๆ ก็เสื่อมสภาพได้ เมื่อเปลี่ยนยางเส้นใหม่ทุกครั้ง…คุณแน่ใจหรือไม่ว่าไม่ใช่
ยางเก่าเก็บ แล้วเราจะมีวิธีดูอย่างไร พร้อมข้อสงสัยว่าจริงหรือที่ว่าดอกยางเป็นตัวทำให้รถเกาะถนน
แล้วเมื่อไรที่เขาเรียกกันว่าดอกยางหมด…

รหัสบนแก้มยางที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ หรือบางคนสนใจและพยายามจะทราบ แต่ไม่ค่อยมีใครอยากบอก
คือ วันที่ยางเส้นนั้นผลิต

เพราะผู้ขายหรือผู้ผลิต กลัวจะขายยางเก่าเก็บไม่ได้ แต่ผู้ผลิตก็ต้องระบุลงไป เพื่อไม่ให้ผิดกฏของหน่วย
งานคุ้มครองผู้บริโภค เพียงแต่ถ้าไม่ถามก็จะไม่บอก

ยางรถยนต์สามารถหมดสภาพได้ แม้เป็นยางใหม่ที่เก็บไว้เฉยๆ ก็เริ่มเสื่อมสภาพลงตั้งแต่ผลิตเสร็จ แล้ว
ลดอายุการใช้งานลงเรื่อยๆ เมื่อเก็บไว้หลายปี

แม้การเก็บยางอย่างถูกวิธีจะชะลอการหมดอายุลงได้ และไม่หมดอายุเร็วเท่ากับการใช้งานบนถนนจริง
แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการซื้อยางเก่าเก็บ ซึ่งผู้ผลิตหลายรายบอกว่า 2-3 ปีก็ยังใช้ได้ แต่ในแง่ของผู้บริโภค
แล้ว ยิ่งใหม่เท่าไรก็ยิ่งดี

ถ้าเป็นยางนำเข้าหรือยางผลิตในประเทศ ที่มีทั้งการจำหน่ายในประเทศและการส่งออก จะมีตัวเลข
3-4 หลักอยู่ในวงรี บอกสัปดาห์และเลขตัวท้ายๆ ของปี ค.ศ. ที่ผลิตยางเส้นนั้นไว้แบบลบไม่ได้ เพราะ
เป็นเนื้อยางที่อยู่บนแก้มยาง หล่อออกมาจากแม่พิมพ์เลย และเป็นมาตรฐานเดียวกันที่ใช้ทั่วโลก

ตัวเลขนั้นอยู่ในวงรีแนวโค้งเดียวกับแก้มยาง อาจอยู่ใกล้กับตัวอักษร DOT และอาจมีเพียงข้างเดียวใน
ยาง 1 เส้น ยางรถยนต์ที่ผลิตก่อนปี 2000 จะเป็นเลข 3 หลัก เช่น 449 หรือ 328 โดยเลข 2 ตัว
แรกบอกสัปดาห์ที่ผลิต และตัวเลขท้ายสุด คือ ตัวเลขสุดท้ายของปี ค.ศ. ที่ผลิต เช่น 127 ก็เป็นยางที่
ผลิตสัปดาห์ที่ 12 ของปี 1997

พอมาถึงปี 2000 และตั้งแต่ปัจจุบันนี้เป็นต้นไป มีการเปลี่ยนมาเป็นเลข 4 หลัก เพื่อป้องกันความสับสน
กับยางที่ผลิตก่อนปี 2000 และค้างสต็อกอยู่

ตัวอย่าง 1300, 3500, 4100 เลข 2 ตัวแรกบอกสัปดาห์ที่ผลิต และ 2 ตัวท้าย คือ เลข 2 ตัวสุด
ท้ายของปี ค.ศ. ที่ผลิต เช่น 3600 เป็นยางที่ผลิตสัปดาห์ที่ 36 ของปี 2000

ส่วนยางบางยี่ห้อที่ผลิตจำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย เช่น บริดจสโตนบางรุ่น ในเนื้อยางบริเวณแก้มก็มี
รหัสระบุถึงวันที่ผลิต แต่ไม่เหมือนกับข้างต้น เพราะเป็นรหัสเฉพาะ เช่น L0Y3A ต้องเปิดตารางเทียบ
ซึ่งผู้ผลิตไม่เปิดเผย

ในเมื่อผู้ซื้ออ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็เลยมีการทดแทนด้วยการปั๊มหมึกสีอ่อนไว้บนแก้มยาง เป็นรูปวงกลมขนาด
เล็กแบ่งครึ่งบนล่าง ครึ่งบนบอกเดือน และปี พ.ศ. เช่น 11 43 ส่วนครึ่งล่างไม่ต้องสนใจ เพราะเป็น
ตัวเลขรหัสประจำตัวของผู้ตรวจยางเส้นนั้น บางร้านพอยางเก่าเก็บ ก็จะลบหมึกวงกลมนี้ออก เพื่อไม่ให้
ทราบวันผลิตจริง ถ้าเจออย่างนั้น ควรหลีกเลี่ยง

ถ้าเป็นยางนำเข้า หากยังไม่แกะออกจากห่อ ที่ตัวห่อหรือสติกเกอร์ที่ติดไว้ อาจมีรายละเอียดวันที–่ผลิต
ระบุไว้ด้วย ถ้าหาที่แก้มยางไม่เจอ ให้ลองหาที่ตัวห่อก็อาจเจอ

ด อ ก ย า ง ไ ม่ ไ ด้ มี ไ ว้ ใ ห้ เ ก า ะ แ ต่ มี ไ ว้ รี ด น้ำ 

ยังมีความเข้าใจผิดและพูดกันผิดๆ ต่อเนื่องกันในวงกว้าง ว่าดอกยางหรือยางที่มีร่องๆ เป็นลวดลาย มี
ไว้ให้ยางเกาะถนน หรือถ้ายางดอกหมดแล้วจะลื่น ซึ่งตามหลักการจริงนั้น ผิด !

ตามความหมายของคนทั่วไป ยางที่ยังมีร่องอยู่บนหน้ายาง หมายถึง ยางมีดอก แต่ถ้าหน้ายางเรียบ ไม่มี
ร่องบนหน้ายาง ทั้งจากการสึกหรอหรือยางสำหรับรถแข่งทางเรียบ หมายถึง ยางดอกหมด ยางหัวโล้น
ยางโล้น หรือยางไม่มีดอก

จริงๆ แล้วตัวแท่งๆ บนหน้ายาง เรียกว่า ‘ดอกยาง’ส่วนช่องว่างระหว่างดอกเรียกว่า ‘ร่องยาง’

ประเด็นสำคัญที่บอกว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจผิด คือ การคิดว่ายางโล้น ยางไม่มีดอก ไม่เกาะถนน เพราะ
การยึดเกาะของยางกับถนนเกิดจากหน้ายางที่กดแนบลงกับพื้น ยิ่งมีหน้าสัมผัสมาก ก็ยิ่งเกาะมากขึ้น ร่อง
ยางซึ่งแทรกอยู่ระหว่างดอกยาง ก็มีแค่อากาศ ไม่ได้มีเนื้อยางกดลงบนพื้นแต่อย่างไร

ดังนั้นถ้าหน้ายางมีความกว้างเท่ากัน ยางไม่มีดอก ไม่มีร่อง หรือยางหัวโล้น ย่อมมีพื้นที่สัมผัสถนนมากก
ว่ายางที่มีร่องระหว่างดอกยาง

แล้วทำไมยางรถยนต์ทั่วไป จึงมีดอกหรือมีร่อง ทั้งที่ผลิตยากกว่าแบบเรียบ และต้องเสียหน้าสัมผัสกับ
พื้นถนนตรงช่วงที่เป็นร่องไป ?

เพราะยางหน้าเรียบเกาะถนนดีบนถนนเรียบแห้งเท่านั้น แต่ถ้าถนนเปียกจะลื่นมาก เพราะหน้ายางที่แบน
กว้าง จะไม่สามารถกดรีดน้ำออกจากหน้ายาง เพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับพื้นตามปกติได้ น้ำเลยกลายเป็น
ชั้นฟิล์มคั่นอยู่ระหว่างยางกับผิวถนน ก็เลยลื่นหรือมีอาการเหิรน้ำ

หน้ายางที่กว้างประมาณสิบเซ็นติเมตรขึ้นไป เมื่อกดลงบนพื้นถนนที่เปียกน้ำ ย่อมไม่สามารถรีดน้ำออกจาก
หน้าสัมผัสได้ เสมือนเอาฝ่ามือที่นิ้วมือชิดกัน กดแรงๆ ลงบนพื้นที่เปียกน้ำ

การแบ่งหน้าสัมผัสออกเป็นบล็อกเป็นดอกด้วยร่องยาง ทำให้การกดรีดน้ำออกจากหน้ายางทำได้ดีขึ้น
เพราะเท่ากับเป็นการรีดน้ำออกจากพื้นที่ย่อยๆ ที่แคบลง และมีร่องลึกอยู่รายรอบ เพื่อให้น้ำที่ถูกรีดแทรก
ตัวเข้าไปได้ และถ้าร่องต่อกันก็จะช่วยให้สลัดน้ำออกด้านข้างได้ดีขึ้นไปอีก เปรียบเทียบได้กับการกางนิ้ว
มือออก แล้วกดมือลงบนพื้นเปียกนั่นเอง ดอกหรือร่องยางจึงลดอาการลื่นของยาง เมื่อต้องขับรถยนต์ลุย
ฝนหรือบนถนนลื่น โดยต้องยอมเสียหน้าสัมผัสพื้นถนนบางส่วนให้เป็นร่องยางแทน

ดังนั้นการบอกลอยๆ ว่า ยางดอกหมด ยางหัวโล้น แล้วจะลื่นนั้น ผิด

เพราะที่ถูกต้อง น่าจะบอกว่า ยางดอกหมด ยางหัวโล้น จะลื่นบนถนนเปียก ส่วนบนถนนแห้งสนิทนั้น
เกาะถนนดีกว่ายางมีดอก (ทั้งยางรถแข่งและรถยนต์ทั่วไป)

แล้วทำไมเมื่อดอกหมดแล้วต้องรีบเปลี่ยนยางชุดใหม่ ทั้งที่ไม่ใช่หน้าฝน ?

เพราะรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ผู้ขับคงไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะเจอถนนเปียกเมื่อไร ขับไปแล้วอาจเจอโดย
ไม่ได้ตั้งตัว เพราะไม่มีทีท่าว่าฝนจะตก หรือพื้นถนนเปียกจากน้ำรดต้นไม้

ถ้ายางไม่มีร่อง หรือมีแต่ไม่ลึกพอให้น้ำเข้าไปแทรกอยู่ได้ ก็จะลื่นไถลได้ง่ายมาก ส่วนรถแข่งทางเรียบ
นั้น ถ้าฝนตกหรือผิวสนามลื่น ก็มักรู้ตัวก่อนและค่อยๆ ประคองรถเข้าพิต เพื่อเปลี่ยนเป็นยางมีดอก แล้ว
ออกไปแข่งต่อ

ปัจจุบันมีผู้ผลิตยางบางราย เริ่มผลิตยางรุ่นที่เน้นสำหรับการขับหรือแข่งบนทางเรียบแบบสมัครเล่น โดย
ออกแบบให้มีหน้าสัมผัสกับถนนมากๆ เป็นหลัก คือ มีร่อง แต่น้อยและแคบ และอยู่ห่างกันมาก เพื่อให้
สามารถขับบนถนนเปียกได้บ้าง ไม่ถึงกับลื่นไถล แต่ก็ไม่สามารถรีดน้ำได้ดีเท่ากับยางทั่วไปที่มีร่องรีดน้ำม
ากกว่า

เ มื่ อ ไ ร ด อ ก ย า ง ห ม ด

เมื่อดอกยางจุดที่เตี้ยที่สุด มีร่องลึกน้อยกว่า 1.5-2 มิลลิเมตร ซึ่งตัวเลข 1.5-2 มิลลิเมตรนี้ รวบรวม
มาจากคำแนะนำของผู้ผลิตยางหลายยี่ห้อ จึงไม่สามารถสรุปเป็นตัวเลขตายตัวได้เป๊ะๆ

ในความเป็นจริง ก็ไม่ค่อยมีใครหยิบไม้บรรทัดมาวัดหรือหาอะไรมาแหย่เพื่อวัดความลึกของร่องยาง
เพราะไม่สะดวก และจริงๆ แล้วก็ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการวัด ดังนั้นส่วนใหญ่จึงดูด้วยสายตา และ
ประเมินเอาว่าดอกยางหมดหรือยัง

ในขั้นตอนการออกแบบและผลิต ผู้ผลิตยางได้อำนวยความสะดวกในการดูว่ายางดอกหมด หรือร่องตื้นเกิน
กว่าที่จะใช้งานบนถนนได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือวัด

โดยในร่องยางบางจุดจะนูนขึ้นจากปกติประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร แต่มิได้นูนขึ้นมาจนเท่ากับหน้ายางตอ
นที่ยังใหม่ๆ สมมุติตอนใหม่ๆ ร่องลึก 8 มิลลิเมตรเท่ากันตลอด ก็จะมีในบางจุดที่ร่องลึกแค่ 6-6.5
มิลลิเมตร เสมือนมีเนินเตี้ยๆ อยู่ก้นหลุม ซึ่งเมื่อดอกยางสึกมากเข้า ก็จะเรียบเท่ากับยอดเนินเตี้ยๆ ที่
ก้นหลุมนั้น

เป็นการบอกว่าดอกยางเตี้ยเกินไป หรือร่องโดยรวมตื้นเกินไปแล้ว หรือดูง่ายๆ สำหรับดอกยางที่มีลวด
ลายของร่องเป็นแนวตรงโดยรอบ ปกติแล้วร่องจะต่อกันตลอดแนว แต่พอดอกยางสึกลงไปจนบางส่วนเท่า
กับเนินนั้น จนทำให้ร่องยางไม่ต่อกัน แสดงว่ายางเหลือร่องรีดน้ำเตี้ยเกินไปแล้ว

การหาว่าจุดไหนของร่องยาง มีเนินเตี้ยๆ อยู่กันหลุมหรือที่ฐานของร่อง ไม่ต้องเดาหรือเสียเวลานาน
เพราะมีจุดสังเกตได้จากขอบของแก้มยางบริเวณใกล้ๆ กับขอบริมของหน้ายาง จะมีตัวอักษร TWI หรือ
สัญลักษณ์รูป 3 เหลี่ยมขนาดเล็ก ชี้เข้าหาหน้ายาง

โดยปกติแล้วจะมี 6 จุดในแก้มยางแต่ละด้าน แบ่งห่างเท่าๆ กัน ในมุม 60 องศาของวงกลม แต่ในยาง
บางยี่ห้ออาจห่างไม่เท่ากัน หรือไม่ได้มี 6 จุด แต่ก็มีหลายจุดในแต่ละด้าน ยางในบางยี่ห้ออย่างมิชลิน ก็
ใช้สัญลักษณ์ตัวบีเบนดั้มขนาดเล็ก เป็นจุดสังเกตแทนรูป 3 เหลี่ยม

สัญลักษณ์เหล่านี้ ไม่ได้มีไว้บอกการสึก หรือดูว่าเมื่อไรสัญลักษณ์นี้ลบแล้วแสดงว่ายางสึกแต่อย่างไร
เพราะอยู่บริเวณแก้มยางซึ่งไม่สัมผัสพื้นจึงไม่สึก (แต่ถ้าเข้าโค้งแรงๆ จนขอบของแก้มยางเอนแนบลงกับ
พื้นถนน สัญลักษณ์ก็อาจสึกได้) เมื่อเจอสัญลักษณ์ข้างต้นที่ริมนอกของแก้มยางแล้ว ก็ให้มองในแนวเดียวกัน
ไล่ขึ้นไปที่หน้ายาง และมองลึกลงไปที่ร่องยาง ก็จะพบกับเนินเตี้ยๆ ที่ร่องยาง เมื่อไรที่ดอกสึกไปถึงยอด
เนินนั้น แสดงว่าดอกหมดหรือร่องตื้นและไม่ควรใช้ต่อ (ไม่ใช่ต้องสึกจนหมดเนินหรือหมดร่อง)

สาเหตุที่ผู้ผลิตแนะนำให้ใช้จนเหลือแค่ร่องตื้นๆ ไม่ใช่หมดร่อง ทั้งที่ดูแล้วร่องนั้นน่าจะยังพอช่วยในการรีด
น้ำได้
เพราะจริงๆ แล้ว ร่องตื้นๆ นั้น มีช่องว่างให้น้ำที่ถูกรีดไล่ออกจากหน้ายางแทรกตัวอยู่ได้น้อยมาก ส่งผล
ให้หน้ายางไม่สามารถรีดน้ำได้อย่างต่อเนื่อง

เรื่องความสูงของเนินขนาดเล็กในร่องยาง ว่าแต่ละยี่ห้อสูงเท่าไร ? พบว่าในแต่ละยี่ห้ออาจไม่เท่ากัน
แต่อยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงกัน คือ 1.5-2 มิลลิเมตร ซึ่งผู้ใช้ก็ไม่ต้องดิ้นรนหาตัวเลขนั้นว่าเป็นเท่าไร

เอาเป็นว่าผู้ผลิตได้ทดสอบหาความเหมาะสมมาแล้วว่า ยางรุ่นนั้น ควรเหลือดอกยางสูงไม่ต่ำกว่าเท่าไร
แล้วยังใช้งานได้ดี และออกแบบทำเนินให้สูงตามนั้น ผู้ใช้ก็แค่ใช้จนดอกสึกลงไปเท่ากับยอดเนินก็ควรเปลี่
ยนยางชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม ยางรถยนต์ก็สามารถหมดอายุได้แม้ดอกยังไม่หมด เช่น ยางเก่าเก็บ รถ
ยนต์ใช้งานไม่มาก จอดมากกว่าขับ ทำให้หน้ายางไม่ค่อยสึก แต่ยางก็หมดอายุได้ จากการหมดสภาพทั้ง
ของโครงสร้างภายใน และความแข็งของเนื้อยาง เพราะโดยพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ยางทุกประเภท จะ
แข็งตัวขึ้นเรื่อยๆ ตามความร้อนและเวลาที่ผ่านไป เนื้อยางที่แข็ง ย่อมมีแรงเสียดทานน้อยลงหรือลื่นขึ้นนั่
นเอง

โดยเฉลี่ยแล้ว แม้ดอกยางยังไม่หมด ก็ไม่ควรใช้งานเกิน 3 ปี ถ้าจะใช้เกิน ควรพิจารณาความแข็ง
การแตกลายงา หรือการแตกปริของเนื้อยางอย่างละเอียด

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.chaliang.com/Board-Detail.asp?ID=01981

***********************************************************************************

จริงหรือ…วันผลิตมีผลต่อประสิทธิภาพของยาง

วันนี้ BiB News จึงนำข้อมูลที่ช่วยให้ท่านสามารถอธิบายกับลูกค้าว่าวันนี้ผลิตของยางไม่ได้มีผลกับสมรรถภาพของยาง จากการศึกษา
และวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐบาลและบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ พบว่า แท้จริงแล้ว วันผลิตของยางไม่ได้มีผลกับสมรรถภาพของยางอย่างที่หลายคนเข้าใจ
เพราะโดยปกติยางที่ผลิตออกมานั้น เมื่อมีการจัดเก็บที่ดีพอ เช่น การเก็บรักษาอุณภูมิที่เหมาะสมและยังไม่ได้เริ่มใช้งานก็จะสามารถเก็บยางเส้นนั้นๆ
ได้เป็นเวลาหลายปีโดยไม่มีการเสื่อมสภาพ ดังนั้นเห็นได้จากผลการศึกษาและวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐบาลและบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศไทยและ
ต่างประเทศอาทิ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและ TUV Rheinland Group Ltd, กรมคมนาคมของประเทศสหรัฐอเมริกาองค์กร ADAC
ซึ่งเป็นหน่วยงานเพื่อผู้ขับขี่รถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมันนี และกรมคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศเกาหลีใต้เพื่อพิสูจน์ว่าแท้จริงแล้ว วันผลิตของยางไม่ได้มีผลกระทบต่อสมรรถภาพของยางอย่างที่หลายคนเข้าใจ

โดยทำการทดสอบสมรรถภาพของยางอาทิ การเบรก การขับขี่ในความเร็วสูงความทนทานสำหรับการบรรทุกหนักและวิ่งเป็นระยะทางไกล ตลอดจนความแข็งแรงของหน้ายางและโครงสร้างยางพบว่าสมรรถภาพต่างๆเหล่านี้ไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งที่วันผลิตยางนั้นต่างกันเพราะโดยปกติยางที่ผลิตออกมานั้นเมื่อมีการจัดเก็บที่ถูกต้อง เช่น การเก็บรักษาที่อุณภูมิที่เหมาะสมและยังไม่ได้เริ่มใช้งานก็จะสามารถเก็บยางเส้นนั้นๆได้เป็นเวลาหลายปีโดยไม่เสื่อมสภาพ หลังจากทราบกันไปแล้วว่าวันผลิตของยางไม่ได้มีผลกับสมรรถภาพของยางแล้วที่นี้คงมีคำถามตามมาว่า เราควรเริ่มนับอายุยางเมื่อไร ควรเลือกซื้อยางอย่างไร และทำอย่างไรให้ยางมีประสิทธิภาพใช้งานที่ยาวนานอายุงานควรเริ่มนับจากวันแรกที่เริ่มใช้งานจริง ไม่ใช่เริ่มนับจากวันที่ยางออกจากโรงงานไปอีก 3-5 ปี เพราะตราบใดที่ยางยังไม่ลงพื้นหรือประกอบใส่ล้อเพื่อใช้งานยางก็จะไม่เจอกับแรงดันจากลมยาง
แรงกระทำจากการขับขี่ น้ำและสารเคมีต่างๆ บนพื้นถนน รวมไปถึงความร้อนจากการยืดหดตัวของยางในขณะใช้งาน ยางก็จะไม่เสื่อมประสิทธิภาพไปง่ายๆและถ้าต้องการซื้อยางเส้นใหม่ ผู้ใช้รถควรเลือกยางที่เหมาะสมกับการใช้งานและขนาดของล้อ โดยพิจารณาก่อนว่าตนเองมีลักษณะการใช้งานอย่างไรมีการขับขี่แบบไหน อาทิ ขับขี่บนถนนหลวงอย่างเดียวและต้องการความนุ่มเงียบหรือต้องการการยึดเกาะถนนแบบสปอร์ต หรือวิ่งออกทางหลวงบ่อยๆและต้องขนของหนักอยู่เสมอเป็นต้น เพราะผู้ผลิตอย่างได้ออกแบบยางแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับลักษณะขับขี่และใช้งานที่แตกต่างกันและประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานนั้นๆและนอกจากนี้การดูแลรักษายางอย่างสม่ำเสมอยังมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการใช้งานที่ยาวนาน และช่วยให้เกิดการปลอดภัยในการขับขี่มากยิ่งขึ้น วิธีการดูแลรักษายางนั้นได้แก่การมั่นเช็คเติมลมยางให้อยู่ในระดับผู้ผลิตรถยนต์กำหนดควรมีการตรวจเช็คสภาพยางและสลับยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ยางมีการสึกหรอที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน อีกทั้งเราควรดูแลรักษาสภาพของระบบรองรับน้ำหนักหรือช่วงล่างไปพร้อมๆกันเพราะหากมุมของล้อผิดเพี้ยนไปหรือช่วงล่างเสียหายก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ยางสึกไม่เท่ากัน และเป็นต้นเหตูที่ทำให้ยางเสียหายเร็วขึ้นนอกจากนี้ผู้ใช้รถควรตรวจสอบดอกยางสึกถึงสะพานยางหรือยัง ยางมีลักษณะที่ผิดแผกไปจากเดิมหรือไม่ อาทิ มีร่องรอยการแตกลายงายางมีการหลุดล่อนหากตรวจพบความผิดปกติ ควรนำรถมาตรวจสอบโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ เมื่อทราบข้อมูลดังนี้แล้วในการขายยางครั้งต่อไป ลูกค้าอาจจะมีคำถามเรื่องวันผลิตของยาง เราควรบอกลูกค้าไม่ต้องกังวนกับการหาซื้อยางที่มีวันผลิตใหม่ที่สุด เราควรให้ลูกค้าหันมาเห็นความสำคัญกับเรื่องการเลือกซื้อยางที่มีคุณภาพเหมาะสมกับสภาพการใช้งานและการดูแลรักษายางอย่างสม่ำเสมอจะดีกว่า

http://sweet2syrup.blogspot.com/2011/09/blog-post.html

**************************************************************************

ข้อมูลจากเว็ป http://www.cg0-400.com/faq.php

1. คำถาม : ข้อสังเกตเมื่อถึงระยะที่ควรเปลี่ยนยาง ?
คำตอบ : รูปบีเบนดัม บนไหล่ยางทุกเส้น รูปบีเบนดัมนี้เป็นตัวบอกตำแหน่งของสะพานยาง หากสภาพการสึกหรอของดอกยาง ลึกถึงสะพานยาง มีความหนา 1.6 มิลลิเมตร หากตรวจสอบพบว่าร่องดอกยางหลักสึก จนถึงตัวรูปบีเบนดัม ควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่ เนื่องจากคุณยังคงใช้งานยางเส้นนี้ต่อไป อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้อย่างไรก็ดี หากคุณต้องการให้การขับขี่อย่างมั่นใจและปลอดภัยยิ่งขึ้น ในสภาพการขับขี่ที่มีฝน ขอแนะนำให้คุณเปลี่ยนยางเส้นใหม่ทุกครั้งเมื่อ ตรวจสอบพบว่าการสึกหรอ ลึกประมาณ 3.5 มิลลิเมตร
2. คำถาม : เพราะเหตุใดจึงต้องใส่ยางใหม่ หรือยางที่สภาพค่อนข้างดีไว้ล้อหลัง ?
คำตอบ : ไม่ว่ารถของคุณจะเป็นแบบขับเคลื่อนล้อหน้า หรือขับเคลื่อนล้อหลัง ข้อแนะนำคือให้ใส่ยางใหม่หรือยางที่มีสภาพดีไว้ที่ล้อหลัง เพื่อช่วยให้รถของคุณมีความมั่นคงในทุกสภาพการขับขี่ อาทิ เช่น การเบรก หรือการเข้าโค้งด้วยความเร็ว แม้แต่ในสภาพพื้นถนนที่ไม่อำนวย เปียกลื่น ผลการทดสอบสามารถเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า การเกิดอาการลื่นปัดที่ล้อหน้าควบคุมได้ง่ายกว่าล้อหลัง ในกรณีที่ล้อหน้าเกิดอาการลื่นหรือปัด ผู้ขับขี่จะยกเท้าออกจากคันเร่งพร้อมๆ กับหมุนพวงมาลัยทิศทางที่ต้องการเพื่อรักษาการทรงตัวของรถ ตรงกันข้าม การควบคุมล้อหลังเมื่อเกิดอาการล้อปัดหรือลื่น ทำได้ยากกว่ามากนัก เนื่องจากอาจทำให้รถอยู่ในภาวะที่เสียการควบคุม การรักษาการทรงตัวสามารถทำได้ โดยหักพวงมาลัยไปในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางที่จะไปผู้ขับขี่ที่มีประสบการณ์จะทราบว่าการลดความเร็วลงช้าๆ เท่านั้น จะช่วยให้สามารถควบคุมรถได้ดียิ่งขึ้น ทั้งหมดเป็นเหตุผลว่า เพราะเหตุใดจึงแนะนำให้คุณใส่ยางใหม่ หรือยางที่สภาพค่อนข้างดีไว้ล้อหลังนอกจากนี้คุณยังได้รับประโยชน์เพิ่มเติมดังนี้
– การควบคุมรถทำได้ด้วยความมั่นใจยิ่งขึ้น
– รถของคุณจะทรงตัวได้อย่างมั่นคง ขณะเข้าโค้ง
– เพิ่มความปลอดภัย ขณะขับขี่
3. คำถาม : ใช้งานยางของคุณให้เต็มประสิทธิภาพได้อย่างไร ?
คำตอบ : เมื่อคุณได้ใช้งานยางของคุณไปสักระยะ ยางของคุณที่เริ่มสึกทีละน้อย อาจทำให้การขับขี่ของคุณไม่ราบรื่นเท่าที่ควร การสลับยางจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การสลับยาง ทำได้โดยการสลับเปลี่ยนระหว่างล้อหน้าและล้อหลัง ทุกๆ 5,000 – 10,000 กม. ทั้งนี้การสลับยางในลักษณะนี้ยังเป็นการช่วยป้องกันมิให้ยางหน้าของคุณสึกมากว่ายางหลังอีกด้วย
4. คำถาม : ยืดอายุการใช้งานยางของคุณได้อย่างไร ?
คำตอบ : ควรตรวจสอบลมยางเป็นประจำ โดยเฉพาะทุกครั้งก่อนการเดินทางไกล เนื่องจากจะทำให้การเดินทางของคุณเป็นไปด้วยความราบรื่น ความดันลมยางที่เหมาะสมจะช่วยให้ยางของคุณมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน การตรวจสอบความดันลมยางนั้นควรกระทำเมื่อยางเย็นเท่านั้น นอกจากนั้นคุณยังต้องตรวจสอบความดันลมยางของยางอะไหล่ และควรอ้างอิงความดันลมยางจากหนังสือคู่มือประจำรถของคุณอีกครั้งควรเปลี่ยนวาล์วทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนยางเส้นใหม่ เนื่องจากความกดดันจากแรงหนีศูนย์อาจทำให้ ยางลมอ่อน ยางอาจเสียหายได้ การเปลี่ยนวาล์วจึงเป็นการยืดอายุการใช้งานยางของคุณการตั้งศูนย์ถ่วงล้อช่วยลดการสั้นสะเทือน ปกป้องช่วงล่างและระบบรองรับแรงกระแทก ระบบพวงมาลัย และยางให้ใช้งานได้ยาวนาน

ลักษณะการทรงตัวของรถเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีผลต่อการสึกหรอของยาง การตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอจะช่วยไม่ให้ลมยางอ่อน เสื่อมสภาพเร็วและสึกเรียบ

5. คำถาม : เก็บรักษายางอย่างไรดี ?
คำตอบ : การเก็บรักษายางของคุณให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมสำหรับการใช้งานอยู่เสมอ คุณควรทำความสะอาดยางด้วยน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้ง แกะเอากรวดและก้อนหินต่างๆ ซึ่งอาจติดอยู่ที่ดอกยางออกเสมอการเก็บรักษาที่ดี ช่วยให้การใช้งานยางของคุณยาวนานมากยิ่งขึ้น
– หากใส่ยางเข้ากับล้อแล้ว ควรเก็บโดยการวางราบลงกับพื้น หรือหาที่แขวน
– หากยังไม่ได้ยางใส่เข้ากับล้อ ให้เก็บยางโดยการตั้งยางไว้กับพื้นขอแนะนำให้ให้คุณเก็บรักษายางไว้ในที่เย็น ไม่ควรเก็บยางไว้ในที่ที่ถูกแสงแดดโดยตรง เมื่อทำการเปลี่ยนยาง หรือสลับยางระหว่างล้อ ควรจดจำตำแหน่งในการใส่ให้ถูกต้อง อาทิเช่น ควรทำเครื่องหมาย FL แทนสำหรับ ยางล้อหน้าด้านซ้าย
ในกรณีที่คุณมีรถพ่วง หรือยานยนต์ที่มักต้องทิ้งให้จอดอยู่ในโรงรถเป็นเวลานานๆ ขอแนะนำให้คุณเพิ่มแรงดันยางมากกว่าปกติ อย่างน้อย 7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (0.5 บาร์)
6. คำถาม : การเลือกใช้ล้อที่มีหน้ากว้างมากขึ้นมีผลทำให้รถเกาะถนนได้ดียิ่งขึ้นใช่หรือไม่ ?
คำตอบ : การเกาะถนนจะดีขึ้น เพราะเมื่อใช้ล้อที่มีหน้ากว้างมากขึ้น ก็ต้องใช้ยางที่มีหน้ากว้างยางที่มากขึ้นตามสัดส่วนในการเปลี่ยนขนาดยางที่เหมาะสม ก็จะทำให้พื้นที่ผิวสัมผัสถนนมีมากขึ้น รถก็จะเกาะถนนได้ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน พื้นที่ผิวสัมผัสที่มากขึ้นก็จะทำให้พวงมาลัยหนักขึ้นด้วย
7. คำถาม : เปลี่ยนขนาดยางจากขนาดมาตรฐานที่ติดมากับรถยนต์ จะเปลี่ยนอย่างไรดี ?
คำตอบ : การเปลี่ยนจะต้องคำนึงถึงเส้นผ่าศูนย์กลางของยางเดิมที่ติดรถมา โดยเส้นผ่าศูนย์กลางของยางขนาดใหม่ ควรให้มีขนาดเท่ายางเดิม หรือใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด และต้องดูขนาดล้อที่เปลี่ยนใหม่ด้วย
8. คำถาม : ดอกยางแบบ Asymmetric มีลักษณะและประโยชน์อย่างไร ?
คำตอบ : ดอกยางแบบ Asymmetric คือยางที่มีลายดอกยางแบบไม่สมมาตร หรือมีลายดอกยางสองด้านไม่เหมือนกัน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีประโยชน์ดังนี้; ดอกยางด้านนอกจะมีลักษณะเป็นบล็อกขนาดใหญ่ ช่วยในการยึดเกาะถนนได้อย่างเป็นเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าโค้ง ดอกยางด้านในจะเน้นคุณสมบัติในการรีดน้ำ ช่วยในการยึดเกาะถนนเปียก
9. คำถาม : ยางผ้าใบ กับ ยางเรเดียลแตกต่างกันอย่างไร ?
คำตอบ : ยางผ้าใบ กับยางเรเดียลจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของโครงสร้าง ซึ่งส่งผลไปถึงสมรรถนะการใช้งาน ยางผ้าใบจะมีโครงสร้างของส่วนที่เป็นหน้ายางแและแก้มยางเป็นผ้าใบชิ้นเดียวกัน ฉะนั้นหน้ายางจึงมีการขยับตัวตามความยืดหยุ่นที่เกิดขึ้น ทำให้พื้นผิวหน้าสัมผัสถนนไม่คงที่และสม่ำเสมอ และยังก่อให้เกิดความร้อนสูง เนื่องจากชั้นผ้าใบมีการเสียดสีกันขณะใช้งาน ยางเรเดียลจะมีโครงสร้างของส่วนที่เป็นหน้ายางและแก้มยาง แยกกันทำหน้าที่ ฉะนั้นหน้ายางจึงไม่มีการขยับตัวตามความยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นบริเวณแก้มยาง ส่งผลให้พื้นผิวหน้าสัมผัสถนนอย่างคงที่และสม่ำเสมอ ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีกันของโครงสร้างมีน้อยลง
10. คำถาม : ยาง 4 ชั้น 8 ชั้นคืออะไร ?
คำตอบ : ยาง 4 ชั้น 8 ชั้น คือเป็นการเรียกตามลักษณะของโครงสร้างที่เป็นแบบโครงสร้างผ้าใบ ซึ่งโดยปกติยางรถยนต์นั่งจะใช้ผ้าใบประมาณ 4 ชั้น และยางรถปิคอัพหรือรถกระบะจะใช้ผ้าใบ 8 ชั้น ในปัจจุบันยางรถยนต์นั่งหรือรถปิคอัพส่วนใหญ่จะเป็นยางเรเดียล สำหรับรถปิคอัพอาจจะมีการพิมพ์คำว่า 8 P.R. ซึ่งจะเป็นลักษณะเทียบเท่าความสามารถในการรองรับน้ำหนักเท่ากับยางผ้าใบที่มีโครงสร้าง 8 ชั้น
11. คำถาม : เปลี่ยนยางใหม่ไปแล้วจอดรถทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งาน ยางจะหมดสภาพหรือไม่ ?
คำตอบ : เมื่อเปลี่ยนยางใหม่ไปแล้ว ควรที่จะนำรถไปขับขี่หรือเคลื่อนที่เพื่อให้ยางได้หมุนบ้าง เพราะถ้าจอดอยู่เฉยๆ เป็นระยะเวลานานๆ มาก เช่น มากกว่า 1 เดือนขึ้นไป ก็อาจจะทำให้เกิด FLAT SPOT ที่หน้ายางหรืออาการไม่คืนตัวของการยุบตัวของโครงยางส่วนหน้าที่สัมผัสกับพื้นได้ ทำให้โครงยางเสียรูป ไม่กลม เมื่อนำรถยนต์ไปขับขี่ อาจทำให้เกิดอาการสั่นเต้นได้ หากจำเป็นจริงๆ ต้องจอดรถไว้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ใช้งาน ก็ควรจะเพิ่มความดันลมยางให้มากกว่าปกติ 5-10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือหากเป็นไปได้ วิธีที่ดีที่สุดในกรณีที่ต้องจอดรถทิ้งไว้นานเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไปนั้น ขอแนะนำให้ยกรถตั้งบนแท่นวาง (STAND) ทั้ง 4 ล้อ ซึ่งทำให้น้ำหนักรถไม่กดทับลงบนยาง เป็นการรักษารูปร่างของยางได้ดีที่สุด
12. คำถาม : การดูแลทำความสะอาดล้อทำได้อย่างไร ?
คำตอบ : หลีกเลี่ยงการใช้ผงซักฟอกหรือสบู่ที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งจะมีผลต่อสีของล้อ
ไม่ควรล้างล้อขณะที่ล้อยังร้อนอยู่ ควรปล่อยให้ล้อเย็นตัวลงก่อน
ควรล้างล้ออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ฝุ่นหรือวัสดุอื่น ๆ ที่จับตัวอยู่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดรอยได้
หลีกเลี่ยงการใช้แปรงหรือน้ำยาขัดสีในการขัดล้อ
13. คำถาม : คำถาม P.C.D. คืออะไร ?
คำตอบ : P.C.D. (Pitch Circle Diameter) คือ เส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมที่ลากผ่านจุดกึ่งกลางรูน็อตทั้งหมดของล้อ ซึ่ง P.C.D. ของรถแต่ละรุ่นก็จะแตกต่างกันไป
14. คำถาม : โดยปกติแล้ว ยางรถยนต์ควรมีการสลับยางบ้างหรือไม่ เมื่อไหร่ ?
คำตอบ : ยางรถยนต์เมื่อผ่านการใช้งานมาระยะหนึ่ง จะทำให้เกิดการสึกหรอไม่เท่ากันได้ในแต่ละเส้น เพราะสภาพของตัวรถยนต์ ศูนย์ล้อ และการสูบลมยางที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการสลับตำแหน่งยาง
(TIRE ROTATION) อย่างน้อย 1 ครั้งของอายุยางชุดนั้น หรือโดยทั่วไปประมาณทุกๆ 5,000-10,000 ก.ม. สำหรับรถยนต์นั่งและรถบรรทุกขนาดเล็ก และเมื่อทำการสลับยางแล้ว ก็ควรที่จะต้องถ่วงล้อใหม่ด้วยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสั่นเต้นของรถขณะใช้ความเร็วสูงๆ
15. คำถาม : โดยปกติควรเติมลมยางเท่าไหร่สำหรับรถเก๋งและรถกระบะ ?
คำตอบ : ความดันลมยางที่เหมาะสมสำหรับรถยนต์แต่ละประเภทนั้น สามารถตรวจสอบได้จากคู่มือประจำรถ แต่โดยสภาพการใช้งานที่เป็นจริงอาจจะคลาดเคลื่อนไปได้บ้างขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน ดังนั้น จึงขอแนะนำดังนี้รถเก๋ง ตามมาตรฐานให้สูบลมได้สูงสุด 36 ปอนด์/ตารางนิ้ว แต่หากเป็นสภาพการใช้งานธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวัน ก็ไม่จำเป็นต้องสูบลมยางถึงระดับสูงสุด ควรเลือกเติมตามความเหมาะสมกับขนาดน้ำหนักของรถ ซึ่งรถเก๋งขนาดเล็ก จะอยู่ระหว่าง 25-30 ปอนด์/ตารางนิ้ว และรถเก๋งขนาดกลางถึงใหญ่ จะอยู่ระหว่าง 30-35 ปอนด์/ตารางนิ้วรถปิคอัพ ตามมาตรฐานให้สูบลมได้สูงสุด 65 ปอนด์/ตารางนิ้ว แต่ส่วนใหญ่แล้วในปัจจุบัน ผู้ใช้มักมีการบรรทุกน้ำหนักมากเกินปกติ (OVERLOADED) จึงทำให้ต้องมีการเติมลมยางมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุอาจทำให้ยางมีอายุสั้นลง แต่โดยทั่วไปในการใช้งานในชีวิตประจำวัน แนะนำให้สูบลมยางดังนี้บรรทุกเบาหรือใช้งานทั่วไป จะอยู่ระหว่าง 35-40 ปอนด์/ตารางนิ้ว และบรรทุกหนักไม่เกิน 1 ตัน สูบลมประมาณ 65 ปอนด์/ตารางนิ้ว
16. คำถาม : การเช็คลมยาง ควรจะทำบ่อยแค่ไหน ?
คำตอบ : โดยปกติควรตรวจเช็คลมยางทุกตำแหน่งล้อรวมทั้งยางอะไหล่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตามอัตราสูบลมยางที่ระบุในคู่มือประจำรถ
17. คำถาม : ขับรถทางไกลทำไมให้เติมลมเพิ่ม ?
คำตอบ : การขับรถไปต่างจังหวัดซึ่งมีระยะทางไกลๆ ทำให้เรามีโอกาสได้ใช้ความเร็วสูงอยู่บ่อยๆ เนื่องจากสภาพการจราจรระหว่างการเดินทางนั้นคล่องตัวมาก ดังนั้น ยางรถยนต์เมื่อหมุนด้วยความเร็วสูง อาจทำให้การคืนตัวของหน้ายางเมื่อสัมผัสกับถนนไม่ทัน ทำให้หน้ายางเกิดเป็นคลื่น (STANDING WAVE) จะส่งผลต่อการเกิดความร้อนภายในยาง จนอาจทำให้ยางเสียหาย หรือเกิดการสั่นเต้นขึ้นได้ เพราะฉะนั้น การเพิ่มความดันลมยางให้มากกว่าปกติ 3-5 ปอนด์/ตารางนิ้ว ก็จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้
18. คำถาม : ทำไมลมยางหายไปเองโดยไม่รั่ว ?
คำตอบ : ในสภาพการใช้งานของรถยนต์ตามปกติ ในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ความดันลมยางอาจซึมหายไป 3-5ปอนด์/ตารางนิ้ว เพราะลมยางสามารถซึมผ่านออกมาทาง VALVE เติมลมหรือตามขอบกระทะล้อได้ ดังนั้น จึงควรตรวจเช็คและเติมลมยางอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
19. คำถาม : การเปลี่ยนยางทุกครั้งจำเป็นต้องตั้งศูนย์หรือไม่ และบางครั้งรถตั้งศูนย์ไม่ได้เป็นเพราะเหตุใด ?
คำตอบ : เมื่อทำการเปลี่ยนยางใหม่ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเปลี่ยนทั้งหมด 4 ล้อหรือเพียงแค่ 2 ล้อก็ตาม ควรอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจเช็คศูนย์ล้อใหม่ทุกครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาการสึกหรอผิดปกติ ซึ่งจะทำให้ยางเส้นใหม่ อาจมีอายุการใช้งานสั้นกว่าปกติสำหรับมุมล้อรถยนต์โดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 มุมหลักๆ คือ มุม CAMBER มุม CASTER และมุม TOE ซึ่งถ้าหากมุมใดมุมหนึ่งเกิดผิดปกติ ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นได้ เช่น- ยางสึกผิดปกติ หรือสึกหรอเร็ว
– พวงมาลัยควบคุมยาก ดึงซ้าย-ดึงขวา
– การทรงตัวของรถไม่ดีส่วนสาเหตุที่อาจทำให้มุมล้อเกิดการผิดพลาด หรือไม่สามารถที่จะทำการตั้งศูนย์ล้อได้นั้น สาเหตุหนึ่งมาจากการชำรุดเสียหายของระบบช่วงล่าง อาทิ ลูกปืนล้อ ลูกหมาก โช้คอัพ บู๊ชต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะต้องทำการซ่อมแซมเสียก่อน จึงจะสามารถตรวจวัดและตั้งศูนย์ล้อได้ถูกต้องแน่นอนกว่า
20. คำถาม : ควรตั้งศูนย์-ถ่วงล้อ บ่อยหรือไม่ ?
คำตอบ : ควรทำการตรวจเช็คทุก ๆ 4 – 6 เดือน หรือทุกครั้งที่สังเกตเห็นยางสึกหรอผิดปกติ และทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่
21. คำถาม : เพราะเหตุใดจึงต้องตรวจสอบศูนย์ล้ออยู่เสมอ ?
คำตอบ : หากศูนย์ล้อของรถคุณไม่ตรง อาจส่งผลให้ดอกยางของคุณสึกเร็ว หมดอายุการใช้งานก่อนเวลาอันควร และนอกจากนี้ยังทำให้การควบคุมรถไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัยต่อการขับขี่ การตรวจสอบศูนย์ล้อต้องทำด้วยความละเอียดถี่ถ้วน เนื่องจากคุณไม่สามารถสังเกตเห็นความผิดปกติของศูนย์ล้อได้ยามขับขี่
22. คำถาม : การถ่วงประชิดหรือถ่วงจี้คืออะไร แตกต่างจากการถ่วงแบบธรรมดาอย่างไร ?
คำตอบ : การถ่วงแบบประชิด คือ การถ่วงน้ำหนักให้เกิดความสมดุลระหว่างล้อรถกับระบบช่วงล่างของรถยนต์ในขณะที่ล้อหมุน (ด้วยความเร็วที่เสมือนจริงกับการใช้งาน) ส่วนการถ่วงแบบธรรมดา คือ การถ่วงน้ำหนักให้เกิดความสมดุลระหว่างกระทะล้อและยาง (ซึ่งจะต้องถอดล้อออกมาถ่วงกับเครื่องถ่วง)
23. คำถาม : ล้อแม็กต่างกับกระทะล้ออย่างไร และมีข้อดีอย่างไร ?
คำตอบ : นอกจากลวดลายสวยงามแล้ว ข้อดีของล้อแม็กก็คือ
มีน้ำหนักเบาทำให้อัตราการเร่งของรถดีขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของขนาดล้อ และเครื่องของรถด้วย
น้ำหนักที่เบาช่วยลดอาการกระเทือนของล้อที่กระทำต่อผิวถนนขณะขับขี่ที่จะถูกส่งผ่านมาสู่ยังพวงมาลัย
วัตถุดิบที่นำมาทำล้อแม็ก ช่วยในการกระจายความร้อนของระบบเบรคสู่ล้อ และทำให้การระบายความร้อนหรือการไหลเวียนของอากาศระหว่างล้อกับเบรคดีขึ้น ทำให้ระบบเบรคทำงานได้ดีเป็นปกติอยู่เสมอ
24. คำถาม : การใส่ล้อแม็กที่ขนาดใหญ่ขึ้นมีผลให้การขับขี่ขาดความนิ่มนวลใช่หรือไม่่ ?
คำตอบ : ย่อมต้องมีผลทำให้เกิดความกระด้างขึ้นบ้าง เนื่องจากการเลือกล้อที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ต้องเลือกใข้ยางแก้มเตี้ยลง เพื่อให้ขนาดของล้อและยางอยู่ในสัดส่วนเดียวกัน หรือใกล้เคียงกับล้อและยางชุดเก่ามากที่สุด และทำให้การคลาดเคลื่อนของเข็มไมล์เกิดขึ้นน้อยที่สุด เช่น เดิมรถใช้ล้อขนาด 13 นิ้ว ใช้ยางขนาด 185/70 R13 เมื่อเปลี่ยนล้อที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 15นิ้ว ก็ต้องเลือกใช้ยางแก้มเตี้ยลงด้วย เป็นขนาด 195/55 R15 เป็นต้น
25. คำถาม : ทำไมล้อแม็กบางรุ่นมีจำนวนรู P.C.D. ยึดกับตัวรถเป็นจำนวนมาก ?
คำตอบ : P.C.D. มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. Single P.C.D. มีค่า P.C.D. เพียงค่าเดียวเท่านั้น จึงสามารถใช้ได้กับรถเฉพาะรุ่น เช่น ล้อที่มีค่า P.C.D. 4-100 ก็จะมีรู P.C.D. 4 รู2. Multiple P.C.D. มีค่า P.C.D. 2 ค่า จำนวนรู P.C.D. ก็จะมีมากกว่า Single P.C.D. ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะผู้ผลิตต้องการให้ล้อรุ่นดังกล่าวสามารถใส่กับรถได้หลากหลายรุ่นซึ่งมีจำนวนรู P.C.D. ไม่เท่ากัน เช่น ในล้อที่มี P.C.D. 4-100/114.3 ก็จะมีรู P.C.D. 8 รู หรือ 5-100/114.3 ก็จะมีรู P.C.D. 10 รู เป็นต้น
26. คำถาม : Offset คืออะไร และค่า (-) และ (+) ต่างกันอย่างไร ?
คำตอบ : Offset คือ ระยะห่างระหว่างเส้นกึ่งกลางกระทะล้อกับหน้าแปลนดุมล้อ (มีหน่ายเป็น ม.ม.) Offset ที่มีค่าเป็นลบ ล้อจะยื่นออกนอกตัวถังรถ Offset ที่มีค่าเป็นบวก ล้อจะหุบเข้าด้านในตัวถังรถ
27. คำถาม : จะรู้ได้อย่างไรว่าค่า Offset และ P.C.D. ของล้อจะเหมาะสมกับรถหรือไม่ ?
คำตอบ : ค่า Offset และ P.C.D. ของรถแต่ละรุ่นจะมีค่าแตกต่างกันไป ดังนั้น เพื่อความถูกต้อง ควรต้องตรวจเช็คจากผู้ผลิตรถก่อน สำหรับล้อแม็กที่ผลิตขายอยู่ในท้องตลาด Offset จะเป็นค่ากลางๆ ซึ่งสำหรับรถเก๋งจะอยู่ที่ 35-38 และสำหรับรถปิกอัพจะอยู่ที่ 0-(-5) ส่วน P.C.D. ก็จะมีขนาดตั้งแต่ 100,114.3 และ 139.7

***********************************************************************

อุบัติเหตุเพราะยางรถยนต์
ข้อมูลจากเว็ปนี้ http://cpfshe.cpportal.net/article/tabid/121/articleType/ArticleView/articleId/141/.aspxบทคัดย่อ
ผู้เกิดเหตุ คุณเฉลิมภัทร อัครสุต            ผมประสบอุบัติเหตุ 29 ม.ค. 51 เวลา 10.00 เช้าวันนั้นไม่มีงานอะไรที่ต้องเร่งรีบขับรถออกจากในเมือง จังหวัด ตราดจะพาผู้สมัครงานไปสัมภาษณ์เข้างานที่ฟาร์มร้อยเพชร ขณะขับรถมาปกติ ในขณะที่ฝนกำลังตกไล่หลังผมมา แต่ผมก็ ไม่ได้รีบเร่งอะไร ผมใช้ความเร็วเพียงแค่ 51 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น บนถนนลาดยางของจังหวัดแบบสองเลนสวน จุด เกิดเหตุเป็นทางลงเนินลาดค้อนข้างยาว และมีโค้งซ้าย แบบโค้งกว้างๆ (ไม่ใช่โค้งแคบๆนะ มันเป็นโค้งกว้าง ปกตินี่เอง) ทัน ใดนั้น รถของผมแฉลบซ้าย พวงมาลัยเบาหวิว ผมตกใจพยายามปรับพวงมาลัยเพื่อบังคับรถ รถเบี่ยงหน้าออกขวาตามแรงเหวี่ยงและความลื่นของถนนลื่น บังคับรถไม่อยู่เสียหลักพลิกคว่ำลงไหล่ทาง ……. ผมรอดชีวิตมาได้หวุดหวิด…แต่รถของผมพัง ยับจากการพลิกหลายตลบ….ทราบภายหลังว่าค่าเสียหายประมาณ 400,000 บาท
          จากนั้นผมได้รับการไต่สวนโดยคณะกรรมการไต่สวนอุบัติเหตุ โดยก่อนการไต่สวนจะมีทีมงานจาก CPF SHE และสำนักประกันภัยมาดูที่เกิดเหตุ ตรวจสภาพการจราจร (ผิวถนน และสภาพแวดล้อม) ตรวจสภาพรถ เช่นยาง ดอกยาง แรงดันลม และอื่นๆ และหลังจากนั้นกระบวนการไต่สวนโดยคณะกรรมการที่อาคารซีพีทาวเวอร์ 1 กรุงเทพฯ คณะกรรมการมีความเห็นว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุครั้งนี้เกิดจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ

1. ผิวจราจร: เนื่องจากฝนทิ้งช่วงนานประมาณ 2 เดือน ทำให้คราบฝุ่น น้ำเคมี(น้ำส้ม) และน้ำยางพาราเกาะติด ถนน ทำให้รถเข้าโค้งในจังหวะฝนตกและมีน้ำขังไหล่ทาง ทำให้รถลื่นได้โดยง่าย

            2. จากการตรวจสอบยางล้อ พบว่าร่องลึกช่วงกลางหน้ายาง เนื่องจากแรงดันลมมากเกินไป ทำให้การยึดเกาะถนน ประสิทธิภาพไม่ดี

ขอย้ำ..ลมยางที่ไม่เหมาะสม เป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ (ในยามรถเคลื่อนไหว) ขอเพื่อนพนักงานอย่ามองข้ามครับ และช่วยกันกำชับผู้ดูแลรถยนต์ รวมทั้งแนะนำผู้ใช้รถส่วนตัว…เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและเสียหายต่อทรัพย์สิน ด้วยความ ปรารถนาดี จาก..นายเฉลิมภัทร อัครสุต

……………………………………………………………………….


ความรู้เรื่องยางรถยนต์และอันตรายจากยาง
 : ข้อมูลจากเว็ป http://cpfshe.cpportal.net/article/tabid/121/articleType/ArticleView/articleId/141/.aspx

1.ยางที่สึกมาก เป็นอันตรายไม่สามารถรีดน้ำออกจากหน้ายางได้ ทำให้เหินน้ำ บังคับเลี้ยวไม่ได้และเป็นเหตุให้รถ พลิกคว่ำตกไหลทางได้งาน
รูปที่ 1. แสดงลักษณะของยางเหินน้ำ

ยางเหินน้ำเกิดจากการสึกของดอกยาง ทำให้น้ำไม่สามารถระบายออกจากหน้ายางได้ โดยปกติยางรถยนต์จะมีดอกยาง และ ระหว่างดอกยางจะมีร่องยาง ร่องยางนี้ทำหน้าที่ให้น้ำระบายออกได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้ายางสึกร่องระบายน้ำก็จะตื้นลง ไม่มี ประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ทำให้เกิดอาการเหินน้ำได้ดังรูป 1
การสึกหรอของยางการและยางสลับยาง : ปกติหน้ายาง (ดอกยาง) จะค่อยๆสึกหรอไปตามอายุและระยะทางที่ใช้งาน ซึ่ง โดยปกติให้ใช้งานได้ไม่เกิน 50,000 กิโลเมตร (กำหนดโดยผู้ผลิตยาง) และอายุของยางไม่ควรเกิน 3 ปี นับจากวันผลิต ทั้งนี้แนะนำให้สลับเปลี่ยนยางรถยนต์ เดือนละ 1 ครั้ง หรือทุกๆ 5,000 กิโลเมตรเพื่อให้การสึกของยางเป็นไปอย่างทั่วถึง ตลอดหน้ายาง หากไม่สลับยาง หน้ายางบางเส้นอาจสึกหรอไม่เท่ากัน เกิดอาการสึกเอียงซ้าย หรือสึกเอียงขวา จะทำให้ไม่ ปลอดภัย (ยางเกาะถนนไม่ดี)
รูปที่ 2. แสดงการสลับยางรถยนต์
อายุการใช้งานของยาง:
          โดยปกติอายุของยางนั้นจะเริ่มนับตั้งแต่ถูกนำไปใช้งาน คือ หลังจากที่ยางประกอบเข้ากับกระทะล้อ และติดตั้งเข้ากับ รถยนต์ แล้วนำไปวิ่งใช้งาน ซึ่งยางรถยนต์ทุกเส้นจะได้รับการรับประกันคุณภาพจากบริษัทผู้ผลิตแต่ละรายโดยสามารถ ศึกษารายละเอียด และเงื่อนไขได้จากคู่มือการรับประกันคุณภาพ อายุของยางรถยนต์ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณเป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนานและปลอดภัย มีข้อแนะนำใน การบำรุง รักษายางที่ถูกต้องดังต่อไปนี้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยและช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานจึงควรเพิ่มการดูแลเอาใจใส่ยางรถยนต์มากยิ่งขึ้น และ เลือกใช้ยาง ให้ถูกต้องเหมาะสมด้วย
หน้ายางสึกผิดปกติ:
สาเหตุใหญ่ๆของหน้ายางสึกผิดปกติมักเกิดจากเติมลมไม่ถูกต้อง หากเติมลมมากเกินไป (แรงดันลมสูงมาก) ดอก ยางจะสึกตรงกลางหน้ายางแต่ถ้าลมยางน้อยเกินไป หน้ายางจะสึกบริเวณไหลยาง ตามรูปที่ 3
รูปที่ 3 แสดงการสึกผิดปกติของหน้ายาง จากการเติมลมไม่ถูกต้อง

ลักษณะการสึกของยางที่เป็นอันตราย 
:
ดอกยาง/หน้ายางที่สึกหรอมากจนถึงขีดอันตรายให้สังเกตอย่างนี้ครับ;
1. เมื่อความลึกของดอกยางเหลือไม่ถึง 1.6 มม.
2. เมื่อพบว่ามีรอยสึกเป็นหย่อมๆ
เมื่อพบว่ายางสึกมากจนถึงขีดอันตราย ให้ขอเปลี่ยนยางทันที (อย่ารอจนถึงวันหมดอายุ)
รูปที่ 4. แสดงยางที่สึกมากจนถึงขีดอันตราย
เมื่อไหร่จะถึงเวลาเปลี่ยนยาง:
                 โดยปกติ ถ้าหากยางรถยนต์ได้รับการดูแลรักษาและใช้งานอย่างถูกต้อง เราสามารถใช้งานได้จนกระทั่งดอกยางสึกหรอ เหลือต่ำสุด 1.6 มิลลิเมตร สามารถสังเกตง่ายๆได้จาก จุดสามเหลี่ยมเล็กๆ 6 จุดบนไหล่ยางแต่ละด้านเมื่อเจอสัญลักษณ์ นี้แล้ว ให้มองตรงขึ้นไป ที่หน้ายาง และมองลึกลงไปที่ร่องดอกยาง ก็จะพบสันนูนที่ร่องยาง ซึ่งเรียกว่า สะพานยางและ เมื่อไหร่ที่ดอกยางสึก ไปถึงสะพานยาง นั่นแสดงว่ายางหมดอายุการใช้งาน ก็ควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่ได้ทันที แต่ถึงแม้ยาง ไม่หมดอายุแต่เกิดการบวมล่อนขึ้น บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ที่หน้ายาง หรือ ไหล่ยาง ก็ควรเปลี่ยนใหม่ทันทีเช่นกัน เพราะหากยังใช้ต่อไป ยางอาจแตกระเบิดได้ หรือถ้าเกิดบาดแผลขึ้น โดยแผลนั้นมีความลึกไปถึงโครงสร้างยางภายใน และ มีความกว้างของบาดแผลมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผลบริเวณแก้มยาง ห้ามทำการปะซ่อมและนำมาใช้งานเด็ดขาด ควร เปลี่ยนยางใหม่โดยด่วนทันที สำหรับท่านที่ต้องการจะทราบถึงอายุการใช้งาน เป็นระยะทางที่วิ่งได้เป็นเลขกิโลเมตรนั้น คงจะไม่สามารถบอกได้อย่าง แน่ชัด ว่าสมควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่หรือยัง เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการ ที่ทำให้เกิดการสึกหรอของดอกยางของผู้ใช้แต่ ละคน ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น การบรรทุกน้ำหนัก ความดันลมยาง ความเร็วในการขับขี่ สภาพผิวถนน อุณหภูมิ
การตรวจเช็คยางเพื่อความปลอดภัย :
1. การตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย
รูปที่ 5. แสดงถึง 3 สิ่งที่ต้องตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย
2. การตรวจเช็คเพื่อป้องกันบำรุงรักษายาง และลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ
สิ่งที่สำคัญสุดๆคือแรงดันลมของยาง :
การวัดแรงดันลมต้องทำตอนที่ยางไม่ร้อน เสมอ หากวัดแรงดันลมตอนที่ยางร้อนจะเห็นว่าแรงดันลมยางสูงกว่า ปกติ เพราะว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศขยายตัว ทำให้แรงดันสูง (หากท่านปรับแรงดันให้ตรงตามกำหนดในขณะยาง ร้อน
ลมยางจะต่ำกว่าปกติเมื่อยางเย็นตัวลง)
เปรียบเทียบระยะเบรกของยางใหม่ดอกดีและยางเก่าดอกยางสึก:
ข้อมูลอ้างอิง :
1. คุณเฉลิมภัทร อัครสุต ผู้จัดการสำนักทรัพยากรบุคคล โครงการพิเศษ/กิจการฟาร์มเลี้ยงกุ้งภาคตะวันออกเขต2,เขต3 โทร. 083-242-9896 E-MAIL :chalermpat.a@cpf.co.th,chalermpat.ag.hotmail.com
รวบรวมและเรียบเรียงโดย :
นายอำนาจ กิตติกรัยฤทธิ์,

*****************************************************************

ความรู้เบื้องต้นยางรถยนต์2 ตัวเลขบนยาง และการเติมลม
จากเว็ปนี้

 

ความรู้เรื่องยาง 2 ตัวเลขอื่นๆ ความดันและการดูแล

ตัวเลขอื่นๆบนยางรถ

ขอให้ดูภาพในบทความที่แล้วนี้ มีอีกหลายตัวเลขที่น่าจะทราบเช่น

  • สัปดาห์ และปีที่ผลิต เป็นตัวเลข 4 ตัว เช่น 0405 ตามหลัง dot จะแสดงว่า ผลิตในสัปดาห์ที่ 4 ของปี 2005 สำคัญมากเพราะเวลาไปเปลี่ยนยาง ต้องดูให้แน่ใจว่า ยางนั้นไม่ใช่ยางเก่าเก็บ เพราะยางมีอายุ ถ้าไม่ได้ใช้แค่ 4 ปีหรือบางรุ่น แค่ 2 ปี ประสิทธิภาพก็ลดลงมาก ขึ้นกับการเก็บในสถานที่เก็บด้วย
  • OE หรือ original equipment ในการผลิตยางเพื่อใช้สำหรับรถรุ่นนั้น ๆ บางยี่ห้อ มีการประทับตราบางอย่างที่บอกให้ทราบเช่น LT หรือ สำหรับรถบรรทุกเบา P หรือ passenger สำหรับรถยนต์นั่ง N0 หรือ N1 สำหรับรถเปอร์เชต์ รถในค่าย GM ใช้ TPC

สิ่งสำคัญอื่นๆของยาง

  • ความดันลมยาง ความดันลมของยาง สิ่งที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่ง ความดันลมยาง จะเป็นตัวกำหนด สมรรถนะการขับขี่ ความทนทาน และ ความปลอดภัย โดยปกติแล้ว บริษัทผู้ผลิตรถ จะคำนวณจากน้ำหนักรถ หน้ายางและขนาดยาง เพื่อกำหนดตัวเลข คร่าว ๆ ในสองลักษณะคือ ขณะไม่บรรทุก และขนาดบรรทุกหนัก โดยเราจะพบตัวเลขนี้ได้ในหนังสือคู่มือ หรือบางรุ่นอยู่ที่ฝาถังน้ำมัน ประตูด้านคนขับหรือหลังคนขับ
  • จำไว้ว่า ความดันที่วัดนี้เป็นการวัดขณะยาง เย็น ซึ่งเวลาที่เหมาะที่สุดคือเช้า ก่อนขับรถออกไป พึงระลึกว่า แม้แต่แค่อุณหภูมิขึ้นเล็กน้อย ยางที่โดนแดด ก็จะมีความดันสูงขึ้นกว่าค่าจริง โดยเฉลี่ย 1 psi ต่อ 10 องศาฟาเรนไฮต์ อากาศในเมืองไทยสามารถแตกต่างจาก 20 องศาตอนเช้า ถึง 40 องศาได้ ซึ่งโดยเฉลี่ย อาจทำให้ความดันเปลี่ยนได้ถึง 2-3 psi และถ้าเกิดความผิดพลาด ความดันลดลงจากที่แนะนำเพียง 6 psi หรือประมาณ 20% ก็จะเกิดความเครียดของยางสูงและยางระเบิดได้
  • การเติมลงยางน้อยไป โดยเฉพาะการไปวัดเมื่อขับรถไปนาน ๆ โอกาสจะเติมลมได้น้อยกว่าปกติได้ ผู้ขับขี่ที่ขับทางไกลมักจะเติมมากกว่าที่แนะนำประมาณ 2-5 psi การเติมลมน้อยไป ทำให้สมรรถนะการขับขี่แย่ลงมาก โดยเฉพาะการเลี้ยวโค้ง  และอายุของยางอาจสั้นกว่าเดิมถึง 25% สูญเสียน้ำมันมากกว่าปกติถึง 5% และมีความร้อนสะสมถึงขั้นยางระเบิดได้ง่าย ยกเว้นบางกรณี การเติมยางให้ลดลงกว่าปกติ มีประโยชน์อยู่ในแง่หนึ่งคือในกรณีขับขี่หน้าฝน เพื่อเพิ่มพื้นที่ยางสัมผัสถนนและลดอาการเหินน้ำ (hydroplaning) บางครั้งถ้าสังเกตการแข่งขันรถสูตรหนึ่ง จะมีการเปลี่ยนยางทันทีถ้าเริ่มมีฝนตก เพื่อเอายางที่หน้ากว้างและอ่อนกว่าปกติมาใช้
  • การเติมลมมากไป ทำให้ยางอาจแตกได้ถ้าเจอของมีคมหรือหลุม และเพิ่มความกระด้าง การสึกของยางอาจสึกมากขึ้นที่ตรงกลางของยาง แต่ข้อดีคือ การเข้าโค้ง การเร่งแซงจะดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันอาจเกิดการลื่นไถลมากกว่าในทางที่ลื่น น้ำ หรือทราย
  • ความดันลม ต้องมีการวัดอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะมีโอกาสลดลงได้ตลอดเวลา**************************************************************

    จริงหรือ…วันผลิตมีผลต่อประสิทธิภาพของยางวันนี้ BiB News จึงนำข้อมูลที่ช่วยให้ท่านสามารถอธิบายกับลูกค้าว่าวันนี้ผลิตของยางไม่ได้มีผลกับสมรรถภาพของยาง จากการศึกษา และวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐบาลและบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ พบว่า แท้จริงแล้ว วันผลิตของยางไม่ได้มีผลกับสมรรถภาพของยางอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะโดยปกติยางที่ผลิตออกมานั้น เมื่อมีการจัดเก็บที่ดีพอ เช่น การเก็บรักษาอุณภูมิที่เหมาะสมและยังไม่ได้เริ่มใช้งานก็จะสามารถเก็บยางเส้นนั้นๆ
    ได้เป็นเวลาหลายปีโดยไม่มีการเสื่อมสภาพ ดังนั้นเห็นได้จากผลการศึกษาและวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐบาลและบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศไทยและ ต่างประเทศอาทิ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและ TUV Rheinland Group Ltd, กรมคมนาคมของประเทศสหรัฐอเมริกาองค์กร ADAC ซึ่งเป็นหน่วยงานเพื่อผู้ขับขี่รถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมันนี และกรมคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศเกาหลีใต้เพื่อพิสูจน์ว่า แท้จริงแล้ว วันผลิตของยางไม่ได้มีผลกระทบต่อสมรรถภาพของยางอย่างที่หลายคนเข้าใจ

    โดยทำการทดสอบสมรรถภาพของยางอาทิ การเบรก การขับขี่ในความเร็วสูงความทนทานสำหรับการบรรทุกหนักและวิ่งเป็นระยะทางไกล ตลอดจนความแข็งแรงของหน้ายางและโครงสร้างยางพบว่าสมรรถภาพต่างๆเหล่านี้ไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งที่วันผลิตยางนั้นต่างกัน เพราะโดยปกติยางที่ผลิตออกมานั้นเมื่อมีการจัดเก็บที่ถูกต้อง เช่น การเก็บรักษาที่อุณภูมิที่เหมาะสมและยังไม่ได้เริ่มใช้งานก็จะสามารถเก็บยางเส้นนั้นๆ ได้เป็นเวลาหลายปีโดยไม่เสื่อมสภาพ หลังจากทราบกันไปแล้วว่าวันผลิตของยางไม่ได้มีผลกับสมรรถภาพของยางแล้วที่นี้คงมีคำถามตามมาว่า เราควรเริ่มนับอายุยางเมื่อไร ควรเลือกซื้อยางอย่างไร และทำอย่างไรให้ยางมีประสิทธิภาพใช้งานที่ยาวนานอายุงานควรเริ่มนับจากวันแรกที่เริ่มใช้งานจริง ไม่ใช่เริ่มนับจากวันที่ยางออกจากโรงงานไปอีก 3-5 ปี เพราะตราบใดที่ยางยังไม่ลงพื้นหรือประกอบใส่ล้อเพื่อใช้งานยางก็จะไม่เจอกับแรงดันจากลมยางแรงกระทำจากการขับขี่ น้ำและสารเคมีต่างๆ บนพื้นถนน รวมไปถึงความร้อนจากการยืดหดตัวของยางในขณะใช้งาน ยางก็จะไม่เสื่อมประสิทธิภาพไปง่ายๆ และถ้าต้องการซื้อยางเส้นใหม่ ผู้ใช้รถควรเลือกยางที่เหมาะสมกับการใช้งานและขนาดของล้อ โดยพิจารณาก่อนว่าตนเองมีลักษณะการใช้งานอย่างไร มีการขับขี่แบบไหน อาทิ ขับขี่บนถนนหลวงอย่างเดียวและต้องการความนุ่มเงียบหรือต้องการการยึดเกาะถนนแบบสปอร์ต หรือวิ่งออกทางหลวงบ่อยๆ และต้องขนของหนักอยู่เสมอเป็นต้น เพราะผู้ผลิตอย่างได้ออกแบบยางแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับลักษณะขับขี่และใช้งานที่แตกต่างกันและประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานนั้นๆ และนอกจากนี้การดูแลรักษายางอย่างสม่ำเสมอยังมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการใช้งานที่ยาวนาน และช่วยให้เกิดการปลอดภัยในการขับขี่มากยิ่งขึ้น วิธีการดูแลรักษายางนั้นได้แก่การมั่นเช็คเติมลมยางให้อยู่ในระดับผู้ผลิตรถยนต์กำหนดควรมีการตรวจเช็คสภาพยางและสลับยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ยางมีการสึกหรอที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน อีกทั้งเราควรดูแลรักษาสภาพของระบบรองรับน้ำหนักหรือช่วงล่างไปพร้อมๆกัน เพราะหากมุมของล้อผิดเพี้ยนไปหรือช่วงล่างเสียหายก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ยางสึกไม่เท่ากัน และเป็นต้นเหตูที่ทำให้ยางเสียหายเร็วขึ้น นอกจากนี้ผู้ใช้รถควรตรวจสอบดอกยางสึกถึงสะพานยางหรือยัง ยางมีลักษณะที่ผิดแผกไปจากเดิมหรือไม่ อาทิ มีร่องรอยการแตกลายงา  ยางมีการหลุดล่อนหากตรวจพบความผิดปกติ ควรนำรถมาตรวจสอบโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ เมื่อทราบข้อมูลดังนี้แล้วในการขายยางครั้งต่อไป   ลูกค้าอาจจะมีคำถามเรื่องวันผลิตของยาง เราควรบอกลูกค้าไม่ต้องกังวนกับการหาซื้อยางที่มีวันผลิตใหม่ที่สุด เราควรให้ลูกค้าหันมาเห็นความสำคัญกับเรื่องการเลือกซื้อยางที่มีคุณภาพเหมาะสมกับสภาพการใช้งานและการดูแลรักษายางอย่างสม่ำเสมอจะดีกว่า

     1.  ทำอย่างไรเมื่อยางรถระเบิด
    รถยางระเบิดในขณะขับรถ มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้
    1. มือทั้งสองต้องจับอยู่ที่พวงมาลัยอย่างมั่นคง
    2. ถอนคันเร่งออก
    3. ควบคุมสติให้ดีอย่าตกใจมองกระจกหลังเพื่อให้ทราบว่ามีรถใดตามมาบ้าง
    4. แตะเบรกอย่างแผ่วเบาและถี่ๆ อย่าแตะแรงเป็นอันขาด เพราะจะทำให้รถหมุน
    5. ห้าม เหยียบคลัตช์โดยเด็ดขาดเพราะถ้าเหยียบคลัตช์รถจะไม่เกาะถนนรถจะลอยตัว และจะทำให้บังคับ รถได้ยากยิ่งขึ้น อาจเสียหลัก เพราะการเหยียบคลัตช์เป็นการตัดแรงบิดของเครื่องยนต์ให้ขาดจากเพลา
    6. ห้ามดึงเบรกมืออย่างเด็ดขาด จะทำให้รถหมุน
    7. เมื่อความเร็วรถลดลงพอประมาณแล้วให้ยกเลี้ยวสัญญาณเข้าข้างทางซ้ายมือ
    8. เมื่อความเร็วลดลงระดับควบคุมได้ ให้เปลี่ยนเกียร์ต่ำลงและหยุดรถ
       ข้อสังเกตเมื่อยางระเบิด คือ ไม่ว่ายางด้านใดจะระเบิดล้อหน้าหรือล้อหลังก็ตาม เมื่อระเบิดด้านซ้ายรถ ก็จะแฉลบไปด้านซ้ายก่อนแล้วก็จะสะบัดกลับ และสะบัดไปด้านซ้าย อีกทีสลับกันไปมาและในทำนองตรงกัน ข้ามหากระเบิดด้านขวาอาการก็จะกลับเป็นตรงกันข้ามอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นส่วนมากก็คือ หากขณะยางระเบิดรถวิ่งอยู่ที่ความเร็วสูงมากๆพอยางระเบิดขึ้นมารถก็ จะกลิ้งทันที ทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นการขับ รถที่ใช้ความเร็วสูงๆจึงมักจะแก้ไขอะไรในเรื่องนี้ไม่ได้ เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นในขณะขับรถจึงไม่ควรขับรถเร็ว
    ( ความเร็วทีถือว่า ปลอดภัยใน DEFENSIVE DRIVING คือ ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง)
     2. ทำอย่างไรเมื่อรถตกน้ำ
    ในกรณีที่รถเกิดอุบัติเหตุแล้วตกลงไปในแม่น้ำลำคลองใดๆก็ตาม รถจะไม่ตกลงไปในน้ำแล้วจมทันทีเหมือนหิน ตกน้ำแต่จะค่อยๆ จมลงทีละน้อยๆจนกว่าจะถึงพื้นล่างและในนาทีวิกฤตนี้ควรตั้งสติให้ดีและปฏิบัติดังต่อไปนี้

    1. ปลด SAFETYBELT ออกทุกๆคนรวมทั้งผู้โดยสารด้วย
    2. อย่าออกแรงใดๆเพื่อสงวนการใช้อากาศหายใจซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนจำกัด
    3. ให้ยกส่วนศีรษะให้สูงเหนือระดับน้ำที่ค่อยๆเพิ่มขึ้นในรถ
    4. ปลดล็อก ประตูรถทุกบาน
    5. หมุนกระจกให้น้ำไหลเข้าในรถเพื่อปรับความดัน! ในรถและนอกรถให้เท่ากันมิฉะนั้นท่านจะเปิดประตูรถไม่ออกเพราะน้ำจากภายนอกตัวรถจะดันประตูไว้
    6. เมื่อความดันใกล้เคียงกันแล้วให้ผลักบานประตูออกให้กว้างสุดแล้วท่านก็ออกจากห้องโดยสารของรถได้
    7. จากนั้นท่านอาจจะปล่อยตัวให้ลอยขึ้นเหนือน้ำตามธรรมชาติหรือจะว่ายน้ำขึ้นมาก็ได้ในกรณีนี้หากน้ำลึกมากๆอาจจะมองไม่เห็นว่าทิศใดเหนือน้ำ ทิศใดใต้น้ำ เพราะว่า มืดไปหมดไม่ควรใช้วิธีว่ายน้ำเพราะอาจจะว่าย ไปในทิศทางที่ไม่ขึ้นเหนือน้ำ

    กรณีเช่นนี้ควรปล่อยตัวให้ลอยขึ้นตามธรรมชาติ หรือลองเป่าปากดูว่าฟองอากาศลอยไปในทิศทางใดให้ว่ายน้ำไปในทิศทางที่ฟองอากาศลอยไปก็จะไม่มีอาการ หลงน้ำ นอกจากนั้น ก่อนออกจากรถหากท่านมีผู้โดยสารที่เป็นเด็กๆ อาจจะหนีบเด็กๆนั้นออกมากับท่านได้อีกหนึ่งคน

    ที่มา :   เวบไซต์ผู้จัดการออนไลน์

    ข้อมูลจากเว็ปนี้ :  http://www.bansuanchonburi.com/yang.php

     

 

7 responses to “วิธีการดูยางรถยนต์

  1. นิรนาม

    พฤศจิกายน 2, 2013 at 11:09

    มีปะโหยดมาก (ดีคับ)

     
  2. นิรนาม

    ธันวาคม 23, 2013 at 10:31

    วิทยาทานชีวิต สุดยอด

     
  3. นิรนาม

    กรกฎาคม 14, 2014 at 10:00

    ไป copy มา ข้อมูลขัดกันเอง เพราะมาจากหลายแหล่ง

     
    • admin2554

      พฤศจิกายน 25, 2014 at 13:17

      ใช่ครับ ผมรวบรวมข้อมูลที่ดีๆมาลงไว้ครับ และให้เครดิตทุกๆเว็ปที่ไปนำมาลงครับ ถ้าเป็นข้อมูลของท่านก็ขอโทษด้วยนะครับ

       
  4. M'Jeab

    มีนาคม 23, 2016 at 18:01

    ดีมากครับ
    น่าจะบอกรหัสยาง ให้หมดทุกตัว ที่แสดงอยู่ให้หมดด้วยครับ เช่น ขอบยาง หน้าบาง สูง กว้าง ฯลฯ เห็นมีอีกเยอะอ่ะครับ!!

     
  5. นิรนาม

    กันยายน 28, 2016 at 11:10

    ขอสอบถามครับ เปลี่ยนยางมาใหม่ได้ 1เดือน มันเต้นตลอด จะลงหลุมเล็กหรือรอยตะเข็บสะเทื่อนทั้งคัน

     

ใส่ความเห็น