RSS

Daily Archives: มิถุนายน 12, 2012

แนวคิดในการบริหารน้ำในประเทศไทย ที่ควรทำ แบบยั่งยืน

สวัสดีครับ  

ผมคิดมานานแล้ว ตั้งแต่ตอนน้ำท่วมใหญ่ล่าสุด ปี 55 ที่ผ่านมา ว่า ถ้าผมมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ำ ระยะยาว ผมจะทำอย่างไร  ได้ไอเดียและต่อยอดความคิดตัวเอง จากรูปภาพเหล่านี้ครับ  ลงไว้หมวด DIY น้ำท่วม ใน Amazing น้ำท่วม ที่ประเทศอื่นเค้ามีแล้ว มีจริง  เพียงแต่ประเทศเรา มัวทะเลาะกัน จนไม่มีเวลามาพัฒนาประเทศกัน เท่านั้นเองครับ ลองพิจารณาความคิดของผมนะครับ ว่ามีความเป็นไปได้ และ เพ้อฝันได้แค่ไหน…

water hightway  อนาคตที่ประเทศไทย ต้องรีบทำ

http://www.yousaytoo.com/magdeburg-bridge-germany/627692

แนวคิดผม มีดังนี้

1.  ประเทศไทย จำเป็นต้องมี “เขื่อน”

สมมุติ จังหวัดนั้นๆ มีป่า มีเขา มีเขตเศรษฐกิจ ที่มีผู้คนอาศัยอยู่เยอะมาก เช่น จ.นครสวรรค์  ถ้าน้ำจะต้องท่วม กันไม่ได้ อย่างที่ผ่านมา  คุณจะให้ท่วมป่า เขา หรือ ท่วมในเมือง ที่มีคนอาศัยอยู่มากมาย ลองคิดดู  ผมไม่ได้ว่า เราไม่ควรรักษาป่า แต่ผมกำลังบอกว่า เราต้อง รักษาชีวิต “คน” เศรษฐกิจ ครอบครัว อาชีพ ที่อยู่อาศัย ของ “คน” ส่วนมาก  ป่า เขา ที่จะมาทำเขื่อน ก็ต้องเสียสละ เพื่อส่วนรวม เพื่อประเทศ เพราะเวลาสร้างเขื่อน มันไม่ได้หายไปไหนหมด  มันยังคงอยู่ และ เปลี่ยนแปลง  โลกเราก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอยู่แล้ว  เราต้องยอมรับ ปรับเปลี่ยน ให้ทันยุคสมัย และ สภาพอากาศ สภาพแวดล้อมโลกด้วย   อย่าเห็นแก่ตัว มองโลกบ้าง อย่ากีดกันแบบไม่ลืมหูลืมตา  ทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว ไม่มีอะไรที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แค่อยู่ที่ว่า ข้า หรือ เร็ว เท่านั้นเอง

เขื่อน  จะช่วย เก็บกักน้ำ ยามน้ำท่วม ช่วยชะลอน้ำ และ เมื่อแล้ง เขื่อนก็จะให้น้ำไปไว้ใช้ ใช้ทำการเกษตร และ ผลิตไฟฟ้า  ไม่ใช่  ทุกๆปี จะมีข่าว น้ำท่วม กับ ภัยแล้ง  ทุกๆปี  งบประมาณ ที่น่าจะเอามาพัฒนาอะไรให้ยั่งยืน ไม่ใช่ แค่เยียวยา เป็นพันๆล้าน ทุกปี  ไม่เสียดายเงินกันบ้างหรืองัย  คิดแบบยั่งยืน  เราก็ต้องเปลี่ยนความคิดบางเรื่องด้วย มองโลกกว้างๆ ไกลๆ

เราต้อง สร้างเขื่อน ให้พอเพียงกับความต้องการ ดูสถิติก็ได้ ว่าเรา เจออุทกภัย และ ภัยแล้ง กันที่ไหน ปีไหน เวลาไหน กันบ้าง แล้วมาวางแผน หาจุดสร้างเขื่อน สร้างเพื่ออะไร ?  สร้างเพื่อ เมื่อมีน้ำเยอะ ก็ให้เก็บน้ำไว้ ปล่อยออกไปบ้าง จะไปที่ไหนแล้วจะบอกอีกที แต่ต้องมีเชื่อน คอยรองรับน้ำกัน เป็นทอดๆ ทั่วประเทศ  อาจไม่จำเป็นต้องใหญ่มาก อาจแค่ขนาดกลางๆก็ได้  แต่ต้องมาวางแผน วางผัง กันก่อน  แต่ต้องมีเขื่อนที่พอจะรับน้ำไป กระจายทั่วๆไป ทั่วประเทศ ตามจุดที่เหมาะสม

ทุกสิ่งที่อย่าง มีทัั้งประโยชน์ และ โทษ ทั้งนั้นแหละ ฉะนั้นไม่ต้องมาถกเถียงกันให้มาก 100 ปีก็ไม่จบ  แต่ก็จะไม่มีการพัฒนา ถ้าไม่ลงมือทำ  ธรรมชาติตรงไหน หายไปก็สร้างใหม่สิ ช่วยกัน ถ้าน้ำมันท่วมหมด แล้งหมด แล้วจะเหลือธรรมชาติไว้ทำไม ให้ใครดู ?   ใครอยากรู้ประโยชน์และโทษ ของเขื่อน ก็ดูตามลิงค์นี้นะครับ
http://hpc9.anamai.moph.go.th/share/index.php?topic=164.0

2.  สะพานน้้ำ หรือ Water Hightway Bridge อย่างภาพหรือคลิป ที่ผมนำมาให้ดูกัน

–  สะพานน้ำ  เมื่อยามเหตุการณ์ปกติ สามารถเป็นถนน Highway ไว้วิ่ง่ข้ามจังหวัดได้
–  และเมื่อน้ำท่วม เกิดอุทกภัย  ถนนหนทางใช้ไม่ได้ ก็สามารถให้รถวิ่งได้ตามปกติ
–  และสามารถปรับเปลี่ยนเป็น เส้นทางเดินเรือได้ด้วย  โดยการดูดน้ำขึ้นบนสะพานน้ำ สามารถใช้เรือ เพื่อส่งสินค้าได้ ขนส่งคนได้  ฯลฯ
–  เมื่อเกิดอุทกภัย น้ำเยอะมากๆ เขื่อนรับไม่ไหวคาดว่าจะท่วม ก็ดูดน้ำ ลำเลียงน้ำที่มากๆ ไปที่เขื่อนอื่นๆ ที่ต่อเชื่อมกันไว้ทั่วประเทศ
–  เมื่อที่ใดเกิดภัยแล้ง  ก็ดูดน้ำจากเขื่อนที่เก็บไว้จากที่นึง ถ่ายเทน้ำไปให้ภาคที่แห้งแล้ง ไปใส่ไว้ในเขื่อนที่เก็บน้ำ
–  โดยสะพานน้ำ จะมีจุดสุดทางที่ทะเล  คือ สามารถนำน้ำที่มากเกินพอ ไปปล่อยลงทะเลได้ ในจุดที่ดีที่สุดในการบริหารน้ำ

และ  ต้องสร้างพลังงานไฟฟ้า จากการส่งน้ำ หรือ การเคลื่อนไหวของน้ำ เก็บไว้ใช้ด้วย
–  เราต้องใช้ประโยชน์จากน้ำเคลื่อนไหว ทำกังหันน้ำ เพื่อสร้างเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บไว้ และ ใช้ประโยชน์ต่างๆ ที่สำคัญที่สุด คือ ไว้สำหรับให้พลังงานกับเครื่องส่งน้ำ  ธรรมชาติน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำอยู่แล้ว เป็นปกติ แต่เมื่อบางเวลาที่เราต้องส่งน้ำทางที่ๆนึงไปอีกที่ๆนึง อาจจะต้องฝืนธรรมชาติ โดยส่งจากที่ต่ำไปที่สูง เราไม่สามารถให้น้ำไปได้โดยธรรมชาติได้ เราต้องใช้พวกเครื่องดูดน้ำ สูบน้ำ ส่งไปเรื่อยๆ พลังงานที่เก็บไว้ก็จะได้นำมาใช้ ในการนี้

เอาแค่ 3 อย่างนี้แหละ ถ้าทำได้ มีเขื่อนกระจายทั่วประเทศ ไม่จำเป็นต้องใหญ่มากๆ ขอแค่มีเยอะๆ แล้วกระจาย และ ต่อเชื่อมกันด้วย สะพานน้ำ หรือ Water Highway Bridge  ให้โยงใยกัน ออกแบบให้ดี  ก็สามารถเป็นถนนให้รถวิ่ง เป็นสะพานน้ำให้เรือเดินทาง  และ เป็นเส้นทางน้ำ เพื่อถ่ายเทน้ำ จากที่นึง ไปยังอีกที่นึงได้  จากที่น้ำท่วมไปที่น้ำแล้ง  หรือ จากที่น้ำท่วม ไปเก็บไว้ที่เขื่อน เพื่อเป็นแก้มลิง(เขื่อน) ไว้ก่อนก็ได้  หรือ ฉุกเฉิน ก็ถ่ายเทน้ำออกทะเลไปเลย หรือ ถ่ายเทไปที่แก้มลิงไหนๆก็ได้

ใช่  มันคงใช้งบประมาณเยอะมาก ใช้เวลานานมาก  แต่ถ้าจะทำให้ยั่งยืน ไม่ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างกั้นน้ำกันเอง  เราก็จะแก้ไขปัญหา น้ำท่วม และ ภัยแล้ง ได้ตลอดกาล  ไม่ต้องเสียงบประมาณเป็นพันๆล้าน ทุกๆปี  ไม่มีจบ  นักการเมืองจะกินก็กินไปเถอะ ขอให้งานเสร็จ และ ดีก็แล้วกัน  เราเป็นประชาชนก็ช่วยกันตรวจสอบ อย่าให้เค้าโกง  เผลอๆ เส้นทางสะพานน้ำ นี้อาจจะผูก รถไฟ เข้าไปด้วยเลย ในบางจุดต่อจุด เราก็จะได้ รถไฟใหม่ (ซะที) ด้วย เพราะผมก็เบื่อ รถไฟไทย สมัยโบราณ ซะจริงๆ

ด้านล่าง นี่สำหรับให้ดูว่า การเดินทางของเรือ ที่ระดับน้ำต่างกัน ต้องทำอย่างไร

ปล. เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผม  ผมคิดมาตอนน้ำท่วมใหญ่ 55  มองไม่เห็นทางอื่น เพราะไม่ยั่งยืน  แล้วผมจะทำภาพกราฟฟิคมาให้ดูอีกทีครับ

******************************************************************************

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มิถุนายน 12, 2012 นิ้ว น้ำท่วม "เอาอยู่"

 

ป้ายกำกับ: , , , ,